มาตรฐาน มอก. ตะแกรงเหล็กไวร์เมช
บริษัท เอเชีย บางกอก สตีล จำกัด มุ่งมั่นพัฒนาและรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์ ตะแกรงเหล็กไวร์เมช ให้ตรงตามมาตรฐาน โดยคำนึงถึงความคาดหวังของลูกค้าอย่างแท้จริง ทำให้ผลิตภัณฑ์ของเราได้รับการรับรองมาตรฐานจาก สมอ. และ มอก. หลายรายการ
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นองค์กรชั้นนำด้านคุณภาพมาตรฐานของประเทศไทย และเป็นที่ยอมรับในระดับสากลโดยมุ่งมั่นดำเนินงานด้านคุณภาพมาตรฐานเพื่อส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุด แก่ผู้ประกอบการ ผู้บริโภคและประเทศชาติโดยรวม เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และความปลอดภัย พิทักษ์สิ่งแวดล้อม และประหยัดพลังงาน และพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
ตะแกรงเหล็กไวร์เมช Wire Mesh ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) จากสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.) ดังนี้คือ
- มอก.747-2531 ลวดเหล็กกล้าดึงเย็นเสริมคอนกรีต
- มอก.943-2533 ลวดเหล็กกล้าข้ออ้อยดึงเย็นเสริมคอนกรีต
- มอก.737-2549 ตะแกรงเหล็กกล้าเชื่อมติดเสริมคอนกรีต
กระบวนการผลิตตะแกรงเหล็กไวร์เมช
โดยการนำลวดเหล็ก (Steel Wire) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้ จากการรีดร้อนเหล็กแท่ง (Billets) จนได้เหล็กรูปทรงยาวหรือลวดเหล็ก (Wire Rod) แล้วนำมาผ่านกระบวนการดึงเย็นเพื่อลดขนาดเพื่อเป็นลวดเหล็กกล้าที่มี ผิวเรียบขึ้น จากนั้น นำไปตัดและทอเป็นตะแกรงเหล็กตามขนาดที่ต้องการ
บริษัท เอเชีย บางกอก สตีล จำกัด มั่นใจว่าตะแกรงไวร์เมช ของเราได้มาตรฐาน โดยการส่งไปทดสอบอยู่ประจำ ยกตัวอย่างเช่นล่าสุด งานเคหะบางพลี ก็ได้นำ ตะแกรงเหล็กไวร์เมช เข้าทดสอบที่สถาบันเจ้าคุณทหารลาดกระบังซึ่งเป็นที่ยอมรับของไทย ดังตัวอย่างผลทดสอบข้างล่างนี้
มอก.747-2531 ลวดเหล็กกล้าดึงเย็นเสริมคอนกรีต
ในปัจจุบัน มีการทำลวดเหล็กกล้าดึงเย็นเสริมคอนกรีตใช้ได้เองภายในประเทศ และเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในวงการก่อสร้างกันมากขึ้น ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์สินค้าประเภทนี้ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ทำและผู้ใช้ จึงได้มีการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ลวดเหล็กกล้าดึงเย็นเสริมคอนกรีต ขึ้น
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ลวดเหล็กกล้าดึงเย็นเสริมคอนกรีต มีรายละเอียดดังนี้
1.ลวดเหล็ก หมายถึง ลวดเหล็กที่ทำขึ้นโดยการรีดเย็น เหล็กลวดซึ่งได้จากการรีดร้อนเหล็กแท่งที่ได้จากเตาหลอม
2.เส้นผ่านศูนย์กลาง ที่วัดภาคตัดขวางใดๆ ณ ตำแหน่งเดียวกัน ต้องแตกต่างกันไม่เกิน 0.1 มิลลิเมตร
3.ลักษณะภายนอกทั่วไปต้องปราศจากสนิมขุม แต่อาจจะมีสนิมที่ผิวได้ซึ่งเมื่อแปรงด้วยแปรงทองเหลืองแล้วจะหายไป โดยที่เส้นผ่านศูนย์กลางของลวดเหล็กต้องไม่เปลี่ยนแปลง
4.คุณสมบัติการดึง ค่าความต้านแรงดึงต่ำสุด 550 เมกะพาสคัล,ความเค้นพิสูจน์ต่ำสุด 485 เมกะพาสคัล,การลดทอนพื้นที่ต่ำสุด 30% หาค่าความเค้นพิสูจน์ที่ความยืดร้อยละ 0.5,แต่ถ้าความต้านแรงดึงของลวดเหล็กเกิน 690 เมกะพาสคัล การลดทอนพื้นที่ต้องไม่น้อยกว่า 25%
5.การดัดโค้งเย็น ต้องไม่มีรอยร้าว หรือปริ ตรงส่วนโค้งด้านนอกของลวดเหล็กที่ทดสอบ
6.ที่ลวดเหล็กทุกขดต้องมีป้ายผูกติดอยู่ และที่ต้องบอย่างน้อยต้องระบุ เลข อักษร หรือเครื่องหมายแจ้งรายละเอียดให้เห็นได้ง่ายและชัดเจน โดยระบุว่า “ลวดเหล็กกล้าดึงเย็นเสริมคอนกรีต”,สัญลักษณ์,น้ำหนักต่อขด,รหัสรุ่น,ชื่อโรงงานที่ทำหรือเครื่องหมายการค้า
7.โรงงานที่ผลิต จะแสดงเครื่องหมายมาตรฐานกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนั้นได้ก็ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาติจากคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนั้นแล้ว
8.การสุ่มตัวอย่างทดสอบ จะสุ่มโดยจากขดต่างๆใบรุ่นเดียวกันจำนวน 5 ขด ตัดปลายออกมา 1 เส้นเส้นละ 1.5 เมตรเพื่อทดสอบเส้นผ่านศูนย์กลาง
9.การวัดเส้นผ่านศูนย์กลาง ให้ใช้เครื่องวัดที่วัดได้ละเอียดถึง 0.01 มิลลิเมตร วัด 3 ตำแหน่ง แต่ละตำแหน่งห่างกัน 300 มิลลิเมตร โดยวัดไปรอบๆตัวอย่างเพื่อหาค่าสูงสุดและต่ำสุดของเส้นผ่านศูนย์กลาง
เอกสาร ตะแกรงเหล็กไวร์เมช มอก.737,747,943